นมัสการ...พระปฐมเจดีย์
นมัสการ...พระปฐมเจดีย์
เรียกได้ว่าเป็นพระสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำหรับ "พระปฐมเจดีย์" ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ
ชนิดราชวรมหาวิหาร รวมถึงมีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ
โดยเฉพาะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และเป็นสัญลักษณ์ของชาวจังหวัดนครปฐมอีกด้วย เพราะฉะนั้น วันนี้เราเลยจะพาเพื่อน ๆ
ไปท่องเที่ยว พร้อม ๆ กับนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์กัน...
แต่ก่อนอื่นขอกล่าวถึงประวัติของพระปฐมเจดีย์กันซะหน่อย โดย พระปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูตมาเผยแผ่พระศาสนา นักปราชญ์ทางโบราณคดีเห็นพ้องกันว่า พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูตและมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอนที่นครปฐมป็นครั้งแรก ในพุทธศตวรรษที่ 3 และได้สร้างพระเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ แบบเจดีย์สาญจิในประเทศอินเดียไว้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ทรงเห็นเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ สูง 42 วา เมื่อทรงลาผนวชได้เสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ. 2396 ได้โปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ สูง 120 เมตร กับ 45 เซนติเมตร พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ แต่งานไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคต
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์จัดสร้างหอระฆัง และประดับกระเบื้องจนสำเร็จ เมื่อถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ผนัง รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือ สร้างใหม่เพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่
สำหรับพระปฐมเจดีย์เป็นพระเจดีย์ใหญ่ มีลักษณะเจดีย์เป็นทรงระฆังคว่ำ (ปากผาย) โครงสร้างทำจากไม้ซุง รัดด้วยโซ่ขนาดใหญ่ ก่ออิฐ ฉาบปูน และปูประดับด้วยกระเบื้องสีเหลือง-แสด ชั้นล่างประกอบด้วยวิหารสี่ทิศ พร้อมด้วยกำแพงแก้วสองชั้น
ภายในองค์พระเจดีย์ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดจึงกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็นประจำทุกปี
ขณะเดียวกัน เมื่อมาถึงพระปฐมเจดีย์แล้ว ก็ไม่ควรพลาดที่จะไปกราบนมัสการ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณเดียวกัน รวมถึง ศาลเจ้าพ่อปราสาททอง และ พระศิลาขาว ด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้คนนิยมทำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เมื่อมาพระปฐมเจดีย์ นั่นก็คือ การเดินรอบพระอารามชั้นนอก หรือชั้นในก็ได้ให้ครบ 3 รอบ เพื่ออธิฐานจิตขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สมปรารถนาดั่งสิ่งที่หวังไว้
ทั้งนี้ พระร่วงโรจนฤทธิ์ มีชื่อเต็มก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร แต่ประชาชนทั่วไปจะเรียกว่า หลวงพ่อพระร่วง หรือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ มีขนาดความสูงวัดจากพระบาทถึงพระเกศราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐาน โลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย อีกทั้งบริเวณใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ยังบรรจุพระราชสรีรางคารในรัชกาลที่ 6 ไว้ด้วย
นอกจากนี้ ในตอนเย็นแดดร่มลมตกบริเวณอีกด้านขององค์พระปฐมเจดีย์ ก็จะมีตลาดนัดของกินที่มีให้เราเลือกทั้งคาวหวานอาทิ ก๋วยเตี๋ยวบะหมี่เกี๊ยวจอนยาว ร้านก๋วยเตี๋ยวราดหน้าโกยซีหมี่ ผัดไท หอยทอด ก๋วยเตี๋ยวหมู ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ อาหารตามสั่งซีฟู้ดมีหมด รวมถึงของหวานอย่างบัวลอยแต้จิ๋ว ขนมครกชาววังและไอศกรีมลอยฟ้าก็อร่อยไม่แพ้กัน
เดินเลือกกันตามชอบพร้อมกับชมบรรยากาศ องค์พระปฐมเจดีย์ ยามค่ำคืนซึ่งดูสวย เด่นสง่างามเป็นอย่างมาก มาที่นี่ที่เดียวอิ่มทั้งท้อง อิ่มทั้งบรรยากาศที่สำคัญยังได้อิ่มบุญอีกด้วย
การเดินทาง
ทางรถยนต์ : จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ สามพราน ไปจนถึงจังหวัดนครปฐม หรือใช้ถนนบรมราชชนนี ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี ไปจนถึงตัวจังหวัดนครปฐม
ทางรถไฟ : การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟไปจังหวัดนครปฐมทุกวัน วันละหลายเที่ยว โดยเริ่มต้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือ สถานีรถไฟบางกอกน้อย มาลงที่สถานีรถไฟนครปฐม ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1690 (ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง) หรือทางเว็บไซต์ www.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง : มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-นครปฐม ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 05.30-23.15 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทรศัพท์ 1490 หรือwww.transport.co.th
แต่ก่อนอื่นขอกล่าวถึงประวัติของพระปฐมเจดีย์กันซะหน่อย โดย พระปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูตมาเผยแผ่พระศาสนา นักปราชญ์ทางโบราณคดีเห็นพ้องกันว่า พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูตและมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอนที่นครปฐมป็นครั้งแรก ในพุทธศตวรรษที่ 3 และได้สร้างพระเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ แบบเจดีย์สาญจิในประเทศอินเดียไว้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ทรงเห็นเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ สูง 42 วา เมื่อทรงลาผนวชได้เสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ. 2396 ได้โปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ สูง 120 เมตร กับ 45 เซนติเมตร พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ แต่งานไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคต
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์จัดสร้างหอระฆัง และประดับกระเบื้องจนสำเร็จ เมื่อถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ผนัง รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือ สร้างใหม่เพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่
สำหรับพระปฐมเจดีย์เป็นพระเจดีย์ใหญ่ มีลักษณะเจดีย์เป็นทรงระฆังคว่ำ (ปากผาย) โครงสร้างทำจากไม้ซุง รัดด้วยโซ่ขนาดใหญ่ ก่ออิฐ ฉาบปูน และปูประดับด้วยกระเบื้องสีเหลือง-แสด ชั้นล่างประกอบด้วยวิหารสี่ทิศ พร้อมด้วยกำแพงแก้วสองชั้น
ภายในองค์พระเจดีย์ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดจึงกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็นประจำทุกปี
ขณะเดียวกัน เมื่อมาถึงพระปฐมเจดีย์แล้ว ก็ไม่ควรพลาดที่จะไปกราบนมัสการ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณเดียวกัน รวมถึง ศาลเจ้าพ่อปราสาททอง และ พระศิลาขาว ด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้คนนิยมทำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เมื่อมาพระปฐมเจดีย์ นั่นก็คือ การเดินรอบพระอารามชั้นนอก หรือชั้นในก็ได้ให้ครบ 3 รอบ เพื่ออธิฐานจิตขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สมปรารถนาดั่งสิ่งที่หวังไว้
ทั้งนี้ พระร่วงโรจนฤทธิ์ มีชื่อเต็มก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร แต่ประชาชนทั่วไปจะเรียกว่า หลวงพ่อพระร่วง หรือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ มีขนาดความสูงวัดจากพระบาทถึงพระเกศราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐาน โลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย อีกทั้งบริเวณใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ยังบรรจุพระราชสรีรางคารในรัชกาลที่ 6 ไว้ด้วย
นอกจากนี้ ในตอนเย็นแดดร่มลมตกบริเวณอีกด้านขององค์พระปฐมเจดีย์ ก็จะมีตลาดนัดของกินที่มีให้เราเลือกทั้งคาวหวานอาทิ ก๋วยเตี๋ยวบะหมี่เกี๊ยวจอนยาว ร้านก๋วยเตี๋ยวราดหน้าโกยซีหมี่ ผัดไท หอยทอด ก๋วยเตี๋ยวหมู ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ อาหารตามสั่งซีฟู้ดมีหมด รวมถึงของหวานอย่างบัวลอยแต้จิ๋ว ขนมครกชาววังและไอศกรีมลอยฟ้าก็อร่อยไม่แพ้กัน
เดินเลือกกันตามชอบพร้อมกับชมบรรยากาศ องค์พระปฐมเจดีย์ ยามค่ำคืนซึ่งดูสวย เด่นสง่างามเป็นอย่างมาก มาที่นี่ที่เดียวอิ่มทั้งท้อง อิ่มทั้งบรรยากาศที่สำคัญยังได้อิ่มบุญอีกด้วย
การเดินทาง
ทางรถยนต์ : จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ สามพราน ไปจนถึงจังหวัดนครปฐม หรือใช้ถนนบรมราชชนนี ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี ไปจนถึงตัวจังหวัดนครปฐม
ทางรถไฟ : การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟไปจังหวัดนครปฐมทุกวัน วันละหลายเที่ยว โดยเริ่มต้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือ สถานีรถไฟบางกอกน้อย มาลงที่สถานีรถไฟนครปฐม ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1690 (ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง) หรือทางเว็บไซต์ www.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง : มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-นครปฐม ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 05.30-23.15 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทรศัพท์ 1490 หรือwww.transport.co.th